Social Icons

วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เนื้อเพลงประจำอาเซียน มาดูกันว่าร้องยังไง

เพลงประจำอาเซียน 

“The ASEAN Way

เป็น ผลงานจากประเทศไทยที่ชนะเลิศจากการแข่งขันระดับภูมิภาคอาเซียน ประพันธ์โดยนายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) ได้เริ่มใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เนื้อร้อง
Raise our flag high, sky high
Embrace the pride in our heart
ASEAN we are bonded as one
Look-in out-ward to the world.
For peace, our goal from the very start
And prosperity to last.
WE dare to dream we care to share.
Together for ASEAN
We dare to dream,
We care to share for it''s the way of ASEAN.

 เนื้อร้อง ภาษาไทย
พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว

สัญญาณแห่ง สัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกัน
อาเซียน เป็นหนึ่ง ดังที่เราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปตรงนั้น
หล่อหลวมจิตใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้ มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจ มั่นคง ก้าวไกล
สามารถฟังเพลง The ASEAN Way ได้จาก

ข้อมูลความเป็นมาของเพลงประจำอาเซียน (ASEAN Anthem)

ความเป็นมา
1. จุดเริ่มต้นของความคิดในการมีเพลงประจำอาเซียนเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากการหารือในที่ประชุม อาเซียนทางด้านวัฒนธรรมและสนเทศ (ชื่อทางการคือคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรม และสนเทศ) ครั้งที่ 29 ในเดือนมิถุนายน ปี 2537 ซึ่งในครั้งนั้นที่ประชุม มีความเห็นตรงกันว่า อาเซียนควรจะมีเพลงประจำอาเซียน โดยกำหนดจะให้เปิดเพลงประจำอาเซียนในช่วงของการจัด กิจกรรมต่างๆ ทางด้านวัฒนธรรมและสนเทศ ทั้งนี้ในเรื่องการสนับสนุนด้านการเงินที่ประชุมตกลง ให้ใช้เงินจากกองทุนวัฒนธรรมอาเซียนเพื่อสนับสนุนการจัดทำโครงการเพื่อคัด เลือกเพลงประจำ อาเซียน
2. ต่อมาในการประชุม ครั้งที่ 32 ของคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศในเดือน พฤษภาคม ปี 2540 ที่ประเทศมาเลเซีย ได้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อคัดเลือกเพลงใน รอบสุดท้าย โดยเพลงที่เข้ารอบในครั้งนั้นเป็นเพลงจากไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ และเพลง ASEAN Song of Unity หรือ ASEAN Oh ASEAN จากฟิลิปปินส์ได้รับรางวัลชนะเลิศ อย่างไรก็ดี เพลงดังกล่าวไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศสมาชิกอาเซียน เนื่องจากใช้เปิดเฉพาะในการ ประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
3. ด้วยเหตุนี้ทำให้ในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่มาเลเซีย และที่สิงคโปร์ ประเทศที่เป็นเจ้าภาพ การประชุมจึงได้แต่งเพลงเพื่อใช้เปิดในที่ประชุม โดยมาเลเซียแต่งเพลง “ASEAN Our Way” และสิงคโปร์แต่งเพลง "Rise"


บทบาทของไทยกับการจัดทำเพลงประจำอาเซียน
4. การจัดทำเพลงประจำอาเซียนเป็นการดำเนินการตามกฎบัตรอาเซียนโดย ข้อบทที่ 40 ระบุให้ อาเซียนมีเพลงประจำอาเซียนโดยหากเป็นไปได้ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนการให้ สัตยาบันกฎบัตร อาเซียนและการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14
5. ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นเจ้าภาพจัดการ แข่งขันเพลง ประจำอาเซียน โดยที่ประชุมประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบให้กำหนดรูปแบบการแข่งขันเป็น open competition โดยให้สำนักเลขานุการอาเซียนในแต่ละประเทศกลั่นกรองคุณสมบัติเบื้องต้น และจัดส่งให้ประเทศไทยภายในเดือนกันยายน 2551 โดยเนื้อร้องต้องมีเกณฑ์ ดังนี้ คือ (1) เป็น ภาษาอังกฤษ (2) มีลักษณะเป็นเพลงชาติประเทศสมาชิกอาเซียน (3) มีความยาวไม่เกิน 1 นาที (4) เนื้อร้องสะท้อนความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนและความหลากหลายทางด้าน วัฒนธรรมและ เชื้อชาติ (5) เป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล 2 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ
6. ในส่วนของการคัดเลือกเพลงในประเทศไทย กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดการประชุมคณะกรรมการ ตัดสินเพื่อคัดเลือกเพลงภายในประเทศขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2551 โดยมีเพลงจำนวน11เพลง ที่ผ่านเกณฑ์ และประเทศไทยได้ส่งเพลงดังกล่าวเข้าร่วมการประกวดแข่งขันในระดับภูมิภาค อาเซียน
7. ในระดับภูมิภาคอาเซียน กรมอาเซียน ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประกวดแข่งขันเพลงประจำอาเซียน ในระดับภูมิภาค รอบแรก เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2551 ที่โรงแรม Pullman Bangkok King Power โดยมีกรรมการจากประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศละ 1 คน ในส่วนของไทย ฯพณฯ องคมนตรี พล.ร.อ. อัศนี ปราโมช ได้ให้เกียรติรับเป็นกรรมการฝ่ายไทยโดยทำหน้าที่ประธานการประชุมคัด เลือกเพลงและได้คัดเลือกเพลงจำนวน 10 เพลง จากที่ส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น 99 เพลง รอบตัดสิน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 ประกอบด้วยกรรมการจากอาเซียน 10 คนเดิม และจากนอก อาเซียนอีก 3 คน ได้แก่จากญี่ปุ่น จีน และออสเตรเลียร่วมตัดสินด้วย ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเป็น เอกฉันท์เลือกเพลง ASEAN Way ของไทยที่แต่งโดย นายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและ เรียบเรียง) นายสำเภา ไตรอุดม (ทำนอง) และนางพะยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง) ให้เป็นเพลง ประจำอาเซียน
8. กรมอาเซียนได้เป็นเจ้าภาพจัดงานเปิดตัวเพลงประจำอาเซียนเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 ณ โรงละครอักษรา โดยมีวงดุริยางค์ทหารเรือบรรเลงเพลง ASEAN Anthem และเพลงยอดนิยม จากประเทศสมาชิกอาเซียน ในส่วนของไทยได้บรรเลงเพลง “ลาวดวงเดือน” โดยได้มีแขกผู้มี เกียรติจากส่วนราชการต่างๆ คณะทูต ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน กว่า 500 คน มาร่วมงาน ทั้งนี้ เพลงประจำอาเซียนจะใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการในพิธีเปิดการประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่หัวหิน


ความสำคัญของเพลงประจำอาเซียน
9. การมีเพลงอาเซียน ถือว่ามีความสำคัญต่ออาเซียนเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก นับจากนี้ไปอาเซียนจะมีเพลงประจำอาเซียนซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเสริมสร้างอัต ลักษณ์ของอาเซียนในการเชื่อมโยง อาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ การได้รับความไว้วางใจจากประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็น เจ้าภาพจัดการประกวดแข่งขันครั้งนี้ รวมทั้งการที่เพลงจากไทยได้รับคัดเลือกให้เป็นเพลงประจำ อาเซียน ถือเป็นเกียรติภูมิของประเทศและแสดงถึงความสามารถของคนไทยด้วย

การประกวดเพลงประจำอาเซียนในปี พ.ศ. 2551

เพื่อให้เป็นไปตามกฎบัตรอาเซียนบท ที่ 40 ซึ่งระบุให้อาเซียนมีเพลงประจำอาเซียน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงได้มอบหมายให้ประเทศไทยเป็นผู้ ดำเนินการจัดการประกวดเพลงประจำอาเซียน โดยที่ประชุมประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบให้กำหนดรูปแบบการแข่งขันเป็น open competition ทั้งนี้ อาเซียนได้มอบหมายให้สำนักเลขานุการอาเซียนในแต่ละประเทศกลั่นกรองคุณสมบัติ เบื้องต้นและจัดส่งให้ประเทศไทยภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย ได้ดำเนินการเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดเพลงประจำอาเซียนระดับภูมิภาคในรอบแรก เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ที่โรงแรม Pullman Bangkok King Power โดยมีกรรมการจากประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศละ 1 คน ซึ่งคณะกรรมการการประกวดได้คัดเลือกเพลงจำนวน 10 เพลงให้เข้ารอบสุดท้าย จากผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด 99 เพลง และได้ดำเนินการประกวดรอบตัดสิน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 โดยคณะผู้ตัดสินประกอบด้วยกรรมการจากอาเซียน 10 คนในรอบแรก และจากประเทศนอกอาเซียนอีก 3 คน ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน และประเทศออสเตรเลีย โดยที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกเพลง"The ASEAN Way" (ดิอาเซียนเวย์) ของประเทศไทย ซึ่งประพันธ์โดยกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) สำเภา ไตรอุดม (ทำนอง) และพะยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง) ให้เป็นเพลงประจำอาเซียน
เพลงดิอาเซียนเวย์ได้เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ณ โรงละครอักษรา โดยมีวงดุริยางค์ทหารเรือของกองทัพเรือไทยเป็นผู้บรรเลงเพลง และได้ใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย


 


หลักเกณฑ์การประกวดเพลงประจำอาเซียน

หลักเกณฑ์การประกวดเพลงประจำอาเซียนมีดังนี้
  1. เป็นภาษาอังกฤษ
  2. มีลักษณะเป็นเพลงชาติประเทศสมาชิกอาเซียน
  3. มีความยาวไม่เกิน 1 นาที
  4. เนื้อร้องสะท้อนความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนและความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและเชื้อชาติ
  5. เป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่
ทั้งนี้ ผู้ชนะเลิศการประกวดจะได้รับเงินรางวัล 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ณะกรรมการผู้ตัดสิน

คณะกรรมการจากประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ
  • ธงชาติของบรูไน ฮาจิ มานัฟ บิน ฮาจิมานัฟ (Mr. Haji Manaf bin Haji Kamis) จากประเทศบรูไน
  • ธงชาติของกัมพูชา ดร.แสม อั่ง แสม (Dr. Sam Ang Sam) จากประเทศกัมพูชา
  • ธงชาติของอินโดนีเซีย เพอร์วา คารากา (Mr. Purwa Caraka) จากประเทศอินโดนีเซีย
  • ธงชาติของลาว คำพัน โพนทองสี (Mr. Khamphanh Phonthongsy) จากประเทศลาว
  • ธงชาติของมาเลเซีย อายอบ อิบราฮิม (Mr. Ayob Ibrahim) จากประเทศมาเลเซีย
  • ธงชาติของสหภาพพม่า ทิน อู่ ท้วง (Mr. Tin Oo Thaung) จากประเทศเมียนมาร์
  • Flag of the Philippines อากริปริโน วี. เดียสโทร (Mr. Apgripino V. Diestro) จากประเทศฟิลิปปินส์
  • ธงชาติของสิงคโปร์ ผุน หยู เทียน (Mr. Phoon Yew Tien) จากประเทศสิงคโปร์
  • ธงชาติของเวียดนาม ฝ่าม ฮง ไฮ (Mr. Pham Hong Hai) จากประเทศเวียดนาม
  • ธงชาติของไทย พลเรือเอก หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช (Admiral Mom Luang Usni Pramoj) จากประเทศไทย
คณะกรรมการจากประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกอาเซียน

  • ธงชาติของออสเตรเลีย ซานดรา มิลลิเคน (Ms. Sandra Milliken) จากประเทศออสเตรเลีย
  • Flag of the People''s Republic of China เปา หยวน ไค (Mr. Bao Yuan-Kai) จากประเทศจีน
  • ธงชาติของญี่ปุ่น เคโกะ ฮาราดะ (Ms. Keiko Harada) จากประเทศญี่ปุ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

ข่าวด่วน สนง กศน.

ข่าวเกี่ยวกับการศึกษา

ระบบ E-Office