วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
กระบวนการคิดและการบริหารแบบสมการเชิงกลยุทธ์ โดย ผอ.ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง .
นำเสนอข่าวและบทความ >>>>โดย ครู กศน.ดอทคอม
"กระบวนการคิดและการบริหารแบบสมการเชิงกลยุทธ์"
คำว่า "กลยุทธ์" กล่าวกันไว้ในหลายสถานการณ์ แต่เดิมเริ่มแรกใช้ในการทำการรบหรือสงคราม ต่อมานำมาใช้กับหลายกิจการ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
กล่าวกันมากอีกหนึ่ง คือ การวางแผน ที่ต้องเป็นแผนที่ต้อง "ไม่ธรรมดา" กล่าวคือ จะต้องมีความพิเศษ และสำคัญกล่าวแผนปกติ
ดัง นั้น การคิดและการบริหารเชิงกลยุทธ์จึงต้องมีวิธีคิดที่ต้องมีแตกต่างไปจากเดิมๆ ที่คุ้นเคย และปฏิบัติกันอยู่แบบ Routine หรือมีความเป็นปกติธรรมดา
วันนี้ ผมขอเชิญชวนพี่น้องเราชาว กศน.คิดแบบสมการเชิงกลยุทธ์ ที่ผมได้ประยุกต์มาจากสมการเชิงกลยุทธ์ ของ ดร.รัฐ ธนาดิเรก ดังนี้
สมการเชิงกลยุทธ์ ถ้า E+F = G
โดยให้ E คือ สิ่งเดิมๆที่เราทำได้
F คือ สิ่งที่เราควรทำหรือทำเพิ่ม
และ G คือ สิ่งที่เราต้องทำให้ได้หรือควรจะได้
สมการดังกล่าว
E อาจจะเป็น Efficiency Effectiveness หรือ Effect
F อาจจะเป็น Factor Function หรือ Facilitator
G อาจจะเป็น Goal Good หรือ Great
กระบวน การคิดวิเคราะห์ให้คิดแบบย้อนกลับ เอา G (สิ่งที่เราต้องทำให้ได้หรือควรจะได้) หรือเป้าหมายของเราเป็นตัวตั้ง ซึ่งจะต้องเป็นเป้าหมายที่บ่งบอกถึงความต้องการและสะท้อนถึงผลลัพธ์ที่จะ เกิดขึ้น โดยผลลัพธ์ที่กำหนดนั้นจะต้องสามารถวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม แล้ว เรามาดู E (สิ่งเดิมๆที่เราทำได) ว่าจากเป้าหมายที่เราตั้งไว้นั้น ถ้าเราทำงานโดยออกแรงเท่าเดิม ทรัพยากรเท่าเดิม ทำแบบ Routine เราทำได้แค่ไหน และหันมาดู F (สิ่งที่เราต้องทำให้ได้หรือควรจะได้) ว่าถ้าเราออกแรงและใช้ทรัพยากรเพิ่มอีกนิดหน่อย ผนวกกับแรงหนุนเสริมจากผู้มีส่วนได้เสียทุกส่วน และภาคีเครือข่าย จะสามารถทำให้เราทำงานได้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
โดย สรุป ของสมาการเชิงกลยุทธ์ก็คือ เอาทุนเดิมตั้ง ต่อยอดเพียงเล็กน้อย แต่ได้ผลคุ้มค่า สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้แต่อย่าลืมว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้จะต้องมีความท้าทายพอสมควร อีกทั้งเป็นไปตามที่เจ้าของทรัพยากร รวมทั้งผู้กำหนดนโยบายมีความต้องการให้บรรลุผลตามเป้าหมายนั้น.
(ชวนคิด เพื่อให้งาน กศน.คมชัด จาก เอ-ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘)
ขอขอบคุณบทความจากท่าน ผอ.ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง ผอ.กศน.จังหวัดลพบุรี
ที่มาเว็บไซต์ครู กศน.ดอทคอม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น